Support
www.thaibizsolutions.com
095-979-9890
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

กระเป๋านักเรียนของหนู

evorok | 06-07-2554 | เปิดดู 8170 | ความคิดเห็น 0
กระเป๋านักเรียน


กระเป๋านักเรียนของหนู
(M&C แม่และเด็ก)

         คงเป็นภาพชินตาของเด็กนักเรียนไทยในยุคนี้ไปแล้ว กับเจ้ากระเป๋าหนังสือในเขื่องคล้ายแบกตู้หนังสือไป-มา ระหว่างบ้านกับที่โรงเรียน ผู้ใหญ่หลาย ๆ คน บ้างก็มองว่า เป็นเรื่องตลกขบขัน บ้างก็มองว่า จะเรียนอะไรกันเยอะแยะ ซึ่งโทษภัยของการแบกสัมภาระหนัก ๆ ก็มีอยู่มีใช่น้อย ถ้าหากว่าเรามองข้ามไป

กระเป๋าหนังสือกับน้ำหนักตัว


         งาน วิจัยสำรวจน้ำหนักตัวและน้ำหนักกระเป๋าหนังสือของนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ของ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่า กว่า 80% ของเด็ก ต้องแบกสัมภาระไปโรงเรียนด้วยกระเป๋ารูปแบบต่าง ๆ ที่มีน้ำหนักมากกว่า 10% ของน้ำหนักตัว ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ไม่เหมาะสม และในจำนวนนี้มีถึง 25% แบกหิ้วส้มภาระหนักกว่า 20% ของน้ำหนักตัวถือเป็นน้ำหนักอันตราย ที่จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง โดยในจำนวนนี้อีกกว่า 70% ใช้กระเป๋าแบกหลังทำให้น้ำหนักกดทับตรงกล้ามเนื้อต้นคอ ไหล่ หลังและกระดูกสันหลัง สอนภาษาอังกฤษตัวต่อตัว

น้ำหนักกระเป๋า

         น้ำหนัก กระเป๋าที่เหมาะสมกับเด็กอายุไม่ถึง 10 ปี ไม่ควรกิน 10-15% ของน้ำหนักตัว แต่ก็มีงานวิจัยของประเทศสหรัฐฯ ว่า เด็กแบกกระเป๋าไม่ควรเกิน 25% ของน้ำหนักตัว แต่เด็กของเราโครงสร้างร่างกายเล็กกว่าเขาเยอะค่ะ ดังนั้น จึงไม่ควรแบกน้ำหนักมากขนาดนั้น ยกตัวอย่าง เช่น เด็กน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ควรแบกน้ำหนักกระเป๋าอยู่ที่ประมาณ 2-3 กิโลกรัม ไม่ควรแบกเกินมากกว่านี้ รอให้โตขึ้นมาหน่อย สักประมาณอายุมาก 10 ปีไปแล้ว จึงค่อยปรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นให้เหมาะสม

กระเป๋าชนิดไหน ถึงจะโดนใจ

         กระเป๋า สะพายหลังเหมาะสมที่สุด เพราะการใช้ไหล่ทั้ง 2 ข้างทำให้น้ำหนักสมดุลกันอยู่ตรงกลางหลังรวมทั้งกล้ามเนื้อขา สะโพกจะช่วยรองรับได้ดีกว่าการสะพายข้างเดียว แต่ให้ระวังสายกระเป๋าไม่ควรใช้แบบสายเส้นเล็ก ๆ เพราะจะทำให้ปวดหลังได้ง่าย รวมทั้งมีการจัดระเบียบของในกระเป๋าให้ดีด้วย การใส่ของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ควรใส่ไว้ชิดกับแผ่นหลังตัวเราหรือด้านในสุดของกระเป๋า และใส่ของน้ำหนักน้อย ๆ ไว้ด้านนอกเพื่อจะได้ไม่ถ่วงน้ำหนักมากเกินไปค่ะ

กระเป๋าหนัก...เด็กไม่โต

         เดิน ทางสายกลาง ไม่เบาและไม่หนักจนเกินไป เพราะอาจทำให้ร่างกายทำงานหนักมากกว่าปกติ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย กล้ามเนื้อโครงสร้าง ที่สำคัญก็คือเรื่องบุคลิกภาพเมื่อโตขึ้น เด็กที่เดินหลังงองุ้มดูแล้วคงไม่สง่าเท่าไหร่ใช่มั้ยคะ รวมทั้งอาการปวดหลัง ปวดคอ พวกนี้จะค่อย ๆ สะสมทีละเล็กละน้อย ส่งผลต่อสุขภาพจิตจนเกิดเป็นความเครียดอีกทางหนึ่งด้วยค่ะ สอนภาษาอังกฤษตัวต่อตัว

ดูอย่างไร...กระดูกคดหรือไม่คด

         วิธี สังเกต เริ่มจากให้เด็กถอดเสื้อออกหรือใส่เสื้อบาง ๆ สวมกางเกงขาสั้น ไม่ต้องสวมรองเท้า แล้วยืนตัวตรง สังเกตว่า เท้าทั้ง 2 ข้างและระดับไหล่ทั้ง 2 ข้างเท่ากันหรือไม่ หรืออยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่ สะโพกและหลังเอียงหรือไม่ ให้มองทั้งด้านตรง ด้านหน้าด้านข้างและด้านหลังอย่างละเอียด หากเด็กที่มีรูปร่างผอมจะสังเกตได้ง่ายโดยให้สังเกตตรงกระดูกปุ่ม ๆ ข้างหลังว่าเรียงตรงหรือไม่ หากมีอาการเอียงหรือผิดปกติจุดใดจุดหนึ่ง ควรรีบมาปรึกษาคุณหอมเพื่อทำการรักษาค่ะ สอนภาษาอังกฤษตัวต่อตัว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ปีที่ 34 ฉบับที่ 469 มีนาคม 2554

ความคิดเห็น

วันที่: Thu Jan 09 18:31:40 ICT 2025

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0